Uncategorized

โรคลัมปีสกิน หรือ Lumpy skin disease (LSD ) คืออะไรในโคกระบือ หรือหมู ? เกิดจากอะไร?

สาเหตุและระบาดวิทยาโดยทั่วไป :

โรคลัมปีสกิน หรือ Lumpy skin disease (LSD ) ในโคกระบือ หรือหมู เกิดจากเชื้อไวรัส Lumpy skin disease virus หรือ LSDV ซึ่งจัดอยู่ในวงศ์ Poxviridae สกุล Capripoxvirus โดย LSDV นั้นสามารถเจริญเติบโตและก่อโรคตามอวัยวะต่างที่มีเซลล์เยื่อบุ (Epithelium cells) ซึ่งจัดเป็นโรคประจำถิ่นในประเทศแถบแอฟริกา มีระยะฟักตัวประมาณ 4 -14 วันในห้องทดลองและอย่างน้อย 2 – 5 สัปดาห์ในการติดเชื้อโรคลัมปีสกินโดยธรรมชาติ ทั้งนี้เพื่อความเข้าใจร่วมกันในเชิงการเคลื่อนย้ายสัตว์ระหว่างประเทศองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) ได้กำหนดให้ระยะฟักตัวของโรคลัมปีสกินนี้เท่ากับ 28 วัน ไวรัสชนิดนี้ก่อโรคลัมปีสกินในโค และกระบือ รวมถึงยีราฟ มีอัตราการป่วย 5 – 45% และอัตราการตายน้อยกว่า 10% โดยโรคนี้ไม่ได้จัดว่าเป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน นอกจากนี้มีการศึกษาในประเทศเอธิโอเปียพบว่าสายพันธุ์ของสัตว์จะมีความไวต่อการเป็นโรคลัมปีสกินที่แตกต่างกัน ซึ่งโคนมพบว่ามีความไวต่อโรคลัมปีสกินมากกว่าโคเนื้อสายพันธุ์ Zebu โดยโรคดังกล่าวจัดเป็นโรคตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558

ทำไมประเทศไทยต้องเริ่มเฝ้าระวังโรคนี้อย่างจริงจัง :

ปัจจุบันพบการระบาดของโรคลัมปี สกินในหลายประเทศของภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ (2562) สาธารณรัฐอินเดีย (2562) สาธารณรัฐประชาชนจีน (2562) ในสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) (2563) และสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (2563)โดยล่าสุดพบการระบาดของโรคลัมปีสกินนี้ใน ซึ่งกลุ่มประเทศเหล่ามีความสัมพันธ์ทางการค้าด้านปศุสัตว์กับประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยคงพบการระบาดของโรคลัมปีสกินอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยจึงมีความเสี่ยงสูงต่อการได้รับเชื้อผ่านทางการเคลื่อนย้ายสัตว์ตลอดจนแมลงพาหะจากประเทศกลุ่มนี้ ซึ่งส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสูญเสียคุณภาพซาก ตลอดจนสวัสดิภาพสัตว์

อาการ :

สัตว์อาจจะมีไข้อุณหภูมิสูงได้ถึง 41 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำนมลดอย่างเห็นได้ชัดในโคนม ซึม เบื่ออาหาร ซูบผอม เยื่อจมูกอักเสบ เยื่อตาขาวอักเสบ มีปริมาณน้ำลายมากกว่าปกติ ต่อมน้ำเหลืองบวมโต เกิดตุ่มบริเวณผิวหนังขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 – 5 ซม. บริเวณหัว คอ ขา เต้านม อวัยวะเพศ ภายใน 48 ชม. หลังจากแสดงอาการป่วยโดยตุ่มมีลักษณะแข็ง กลม นูนขึ้นจากผิวหนังโดยรอบ ซึ่งตุ่มนูนที่มีขนาดใหญ่อาจจะกลายเป็นเนื้อตาย มีแผลเป็นเกิดขึ้นและคงอยู่เป็นเวลาหลายเดือน ส่วนตุ่มนูนขนาดเล็กสามารถหายได้เร็วกว่า สามารถพบตุ่มน้ำ หรือแผลจากการแตกของตุ่มน้ำได้ในบริเวณเยื่อเมือกในช่องปาก ทางเดินอาหาร หลอดลม และปอดได้ อาจพบการบวมน้ำในบริเวณส่วนท้องของตัวสัตว์ซึ่งจะส่งผลให้สัตว์ไม่อยากเคลื่อนไหว ในพ่อพันธุ์อาจจะส่งผลให้เกิดการเป็นหมันชั่วคราว หรือถาวรได้ สำหรับแม่พันธุ์อาจจะส่งผลให้แท้งและเกิดการกลับสัดช้า

การติดต่อ :

  • ช่องทางหลักของการติดเชื้อคือการมีแมลงดูดเลือดเป็นพาหะนำโรคลัมปีสกิน ได้แก่ เห็บ แมลงวันดูดเลือด ยุง เป็นต้น ซึ่งแมลงพาหะเหล่านี้มีบทบาทเป็นลักษณะพาหะเชิงกล (Mechanical Vector)โดยการถ่ายทอดเชื้อที่ติดอยู่ที่ส่วนปากให้กับโคกระบือในบริเวณเดียวกัน โดยจากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่าเชื้อไวรัสสามารถมีความคงทนในแมลงบางชนิดได้นานโดยไม่มีการแบ่งตัวเพิ่ม ดังนี้
  1. พาหะกลุ่มแมลงวันดูดเลือด (Flies)

Stomoxys calcitrans (แมลงวันคอก) ประมาณ 6 ชั่วโมง (Issimov et al., 2020) นอกจากนี้ยังสามารถพบเชื้อไวรัสในกรณีที่แมลงสำรอกหรืออุจจาระออกมาได้ประมาณ 3 วันภายหลังแมลงได้รับเชื้อ (Paslaru et al., 2021)

  • พาหะกลุ่มแมลงวันดูดเลือด (Flies)

Stomoxys calcitrans (แมลงวันคอก) ประมาณ 6 ชั่วโมง (Issimov et al., 2020) นอกจากนี้ยังสามารถพบเชื้อไวรัสในกรณีที่แมลงสำรอกหรืออุจจาระออกมาได้ประมาณ 3 วันภายหลังแมลงได้รับเชื้อ (Paslaru et al., 2021)

แมลงวันคอกสัตว์ (Stomoxyscalcitrans)แมลงวันเขาสัตว์/แมลงวันริ้นควาย (Haematobiairritans)เหลือบม้า (Haematopotaspp.)
  • พาหะกลุ่มยุง (Mosquitoes)

ยุง เช่น Aedes Aegypti เป็นต้น ประมาณอย่างน้อย 6 – 8 วัน (Chihota et al., 2001, Sanz-Bernardo et al., 2020 และ Carn & Kitching, 1995)

ยุงลาย (Aedes aegypti)ยุงก้นปล่อง (Anopheles stephensi)ยุงราคาญ (Culex quinquefasciatus)
  • พาหะกลุ่มเห็บ (Ticks)

เห็บแข็ง (Ixodid ticks) Rhipicephalus appendiculatus และ Amblyomma hebraeum สามารถพบ DNA ของไวรัสประมาณ 9 – 14 หลังจากได้รับเชื้อ แต่ยังไม่พบหลักฐานว่าสามารถแยกเชื้อเป็นได้จากเห็บแข็งเหล่านี้ (Tuppurainen et al., 2011)

 (Rhipicephalus appendiculatus) (Amblyommahebraeum) (Ixodes spp.)
  • พาหะกลุ่มริ้นน้าเค็ม (Biting midges)

Culicoides nubeculosus (ริ้น) ประมาณ 8 วัน (Sanz-Bernardo et al., 2020)

CulicoidespunctatusCulicoidesnubeculosus
  • สามารถพบไวรัสในน้ำเชื้อของพ่อพันธุ์ได้  แต่การติดต่อผ่านทางน้ำเชื้อก็ยังไม่มีรายงานของการเกิดโรคลัมปีสกิน
  • ยังไม่สามารถบอกได้ว่าการติดโรคลัมปีสกินผ่านทางอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้  หรืออาหารและน้ำดื่มที่ปนเปื้อนน้ำลายของสัตว์ป่วยเกิดขึ้นได้หรือไม่
  • สัตว์สามารถติดเชื้อจากการทดลองโดยใช้สิ่งคัดหลั่งจากตุ่มที่เกิดขึ้นที่ผิวหนัง  หรือจากเลือดได้
  • การติดต่อผ่านการสัมผัสสัตว์ป่วยโดยตรงนั้นสามารถเกิดขึ้นได้แต่ไม่ใช่ช่องทางการติดต่อหลัก

การแพร่กระจายของเชื้อไวรัส :

  • ตุ่มที่บริเวณผิวหนังที่เกิดขึ้นจากสัตว์เป็นโรคสะเก็ดแผล, สะเก็ดผิวหนัง ซึ่งจะมีปริมาณเชื้อไวรัส LSDV ในปริมาณที่ค่อนข้างมาก สามารถพบเชื้อไวรัสจากส่วนนี้ได้ถึง 38 วันหลังการติดเชื้อและอาจจะพบได้ยาวนานกว่านี้
  • สามารถพบเชื้อไวรัสได้ในเลือด น้ำลาย สิ่งคัดหลั่งจากตาและจมูก และน้ำเชื้อ
  • สำหรับเชื้อไวรัสในน้ำมูกและน้ำลายนั้นพบว่ามีปริมาณค่อนข้างน้อย โดยสามารถพบเชื้อได้ในระยะเวลาระหว่าง 12 – 18 วันภายหลังการติดเชื้อ ซึ่งจากการทดลองพบว่าการติดเชื้อจากน้ำมูกและน้ำลายสามารถก่อโรคลัมปีสกินได้แบบไม่รุนแรง (Babiuk et al., 2008)
  • พบเชื้อไวรัสในเลือดสัตว์ที่ติดเชื้อได้ในบางช่วง โดยเฉลี่ยจะพบได้ประมาณ 7 – 21 วันหลังติดเชื้อ แต่อย่างไรก็ตามจะพบเชื้อไวรัสได้ในปริมาณที่น้อยกว่าจากตุ่มที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหนัง
  • พ่อพันธุ์สามารถขับเชื้อไวรัสผ่านทางน้ำเชื้อได้เป็นระยะเวลานาน สัตว์สามารถขับไวรัสในน้ำเชื้อประมาณ 42 วันหลังจากติดเชื้อ โดยมีการศึกษาพบว่าวัคซีนชนิด Homologous vaccine สามารถช่วยป้องกันการขับเชื้อผ่านทางน้ำเชื้อได้ (Annandale et al., 2013)
  • มีรายงานการเกิดโรคลัมปีสกินพบการติดต่อผ่านทางรก โดยหากพบการติดเชื้อในแม่ช่วงปลายของการตั้งท้อง (ประมาณ 7 เดือน)จะทำให้เกิดภาวะ Viremia ในแม่สัตว์จนมีโอกาสทำให้ลูกสัตว์ที่เกิดมามีรอยโรคลัมปี สกิน ตามวัยวะต่างๆ และมีความอ่อนแอจนอาจตายในที่สุด (Rouby et al., 2016)
  • สัตว์ที่หายจากโรคลัมปีสกินแล้วไม่พบว่าเป็น Carrier ได้ แต่สัตว์ที่ไม่แสดงอาการ (ประมาณ 50% ของสัตว์ที่ติดเชื้อ) ยังสามารถแพร่เชื้อได้เช่นเดียวกับสัตว์ที่แสดงอาการป่วย

ความคงทนของไวรัสในตัวอย่างชนิดต่างๆ (Babik, 2008, Dietze et al., 2018, Irons et al., 2005, Tuppurainen et al., 2005 และ Weis, 1968) :

ตัวอย่างที่สามารถแยกเชื้อไวรัสได้ระยะเวลาที่เชื้อมีชีวิตอยู่ได้
ตุ่มที่ผิวหนัง39 วัน (อุณหภูมิห้อง)
สะเก็ดแผลแห้ง33 วัน (อุณหภูมิห้อง) และหลายปีหากเก็บที่อุณหภูมิ – 20 °C
หนังสัตว์ที่ปล่อยให้แห้งตามธรรมชาติ18 วัน (อุณหภูมิห้อง)
เลือด5 – 16 วัน (อุณหภูมิห้อง)
น้ำลายและน้ำมูกอย่างน้อย 21 วัน (อุณหภูมิห้อง)
สิ่งคัดหลั่งจากตาไม่ทราบ
น้ำเชื้อ22 วัน (อุณหภูมิห้อง)
น้ำนมไม่ทราบ
ปัสสาวะและอุจจาระไม่ทราบ
พื้นที่ในที่ร่มแสงแดดส่องไม่ถึง เช่นคอกสัตว์ เป็นต้นหลายเดือน

การฆ่าเชื้อไวรัส (OIE, 2017) :

ประเภทรายละเอียด
ความร้อน55 °C เวลา 2 ชั่วโมง หรือ 65 °C เวลา 30นาที
pHน้อยกว่า 6.6 หรือมากกว่า 8.6 ขึ้นไป
สารเคมี / น้ำยาฆ่าเชื้อโรคEther (20%), chloroform, formalin (1%), phenol (2% เวลา 15 นาทีSodium hypochlorite (2 – 3%)Iodine compounds (1 : 33 dilution)Virkon ® (2%)Quaternary ammonium Compounds (0.5%)สารชะล้างที่สามารถละลายไขมันได้ เช่น sodium dodecyl sulphate เป็นต้น
แสงแดด  สามารถฆ่าเชื้อได้ดีแต่ไม่ทราบระยะเวลาที่แน่นอน

แนวทางการป้องกันโรค และควบคุมโรค :

  • การใช้วัคซีนเชื้อเป็นสำหรับป้องกันโรคลัมปีสกินซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการใช้ในประเทศไทย โดยอยู่ในระหว่างการหารือแนวทางและความเป็นไปได้ในการสำรองวัคซีนกรณีฉุกเฉินเพื่อควบคุมโรคต่อไป
  • ประเทศที่ปลอดโรคลัมปีสกิน ควรมีการเฝ้าระวังเชิงรุก ร่วมกับการเข้มงวดในการนำเข้าโคและกระบือ รวมทั้งซากและผลิตภัณฑ์จากพื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาดของโรคลัมปีสกิน
  • การดำเนินการควบคุมควรดำเนินงานควบคู่กันระหว่างการควบคุมแมลงพาหะ การเคลื่อนย้ายสัตว์ การคัดทิ้ง และการฉีดวัคซีนเพื่อการควบคุมโรคลัมปีสกิน หากดำเนินการเพียงการควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์และการคัดทิ้งสัตว์ป่วย เมื่อเปรียบเทียบแล้วพบว่าหากไม่มีการฉีดวัคซีนร่วมด้วย ประสิทธิภาพการควบคุมโรคอาจไม่มากเพียงพอเมื่อสังเกตจากการควบคุมโรคในประเทศต่างๆ ที่เคยมีการระบาด (EFSA, 2016)

อ้างอิงจาก :

https://sites.google.com/view/dldlsd/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *